ประเพณีประจำจังหวัด

5 ประเพณีประจำจังหวัดเชียงใหม่



1. ประเพณียี่เป็ง 

            ทุกวันเพ็ญเดือนยี่ (เดือนสอง) ของล้านนา ภาพโคมนับร้อย ๆ ดวงค่อย ๆ ลยละลิ่วส่องแสงสว่างเจิดจ้าอยู่บนท้องฟ้าเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งนั่นเป็นสัญลักษณ์ของ "ประเพณียี่เป็ง" หรือประเพณีเดือนยี่ หรือประเพณีลอยกระทงแบบล้านนา ซึ่งประเพณีนี้งดงามจนใครที่อยากไปสัมผัสกับความตระการตาเหล่านี้สักครั้ง
            ดังนั้น จังหวัดเชียงใหม่ และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จังหวัดเชียงใหม่จึงขอเชิญนักท่องเที่ยวสัมผัสเทศกาลงาน "ประเพณียี่เป็ง เชียงใหม่ 2556" ที่จะมีขึ้นในวันที่ 16-18 พฤศจิกายน 2556 ณ ถนนช้างคลาน ย่านไนท์บาซาร์ อำเภอเมือง ซึ่งภายในงานจะมี การแสดงแสง สี เสียง การปล่อยโคมลอย การแสดงศิลปวัฒนธรรม ล้านนา และขบวนแห่ กระทงขบวนโคมยี่เป็ง
งานประเพณีพื้นบ้านในวันเพ็ญเดือนสิบสอง ของชาวล้านนาจังหวัดเชียงใหม่ ที่มีความเชื่อในการปล่อยโคมลอยซึ่งทำด้วยกระดาษสาติดบนโครงไม้ไผ่แล้วจุดตะเกียงไฟตรงกลางเพื่อให้ไอความร้อนพาโคมลอยขึ้นไปในอากาศเป็นการปล่อยเคราะห์ปล่อยโศกและเรื่องร้ายๆต่างๆ ให้ไปพ้นจากตัว
          การปล่อยโคมลอยเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่งในประเพณียี่เป็ง เป็นที่รวมแห่งศรัทธาสามัคคีของชาวบ้านกับชาววัด นอกจากนี้การทำโคมลอยยังถือเป็นศิลปะอย่างหนึ่ง หากทำไม่ถูกสัดส่วนจะปล่อยไม่ขึ้น


                                     







2. ประเพณีเข้าอินทขิล

            ประเพณีเข้าอินทขิลเป็นประเพณีที่ชาวเชียงใหม่ปฏิบัติสืบทอดกันมาช้านานแล้ว เมื่อถึงเดือนพฤษภาคมไปจนถึงต้นเดือนมิถุนายน ตรงกับ วันแรม 13 ค่ำ เดือน 8 ซึ่งเรียกว่า “วันเข้าอินทขิล” ระหว่างนี้ ชาวเชียงใหม่ จะร่วมกันประกอบพิธี บูชาอินทขิล อันเป็นเสาหลักเมือง ซึ่งอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง ใจกลางเมืองเชียงใหม่ การประกอบพิธีบูชาเสาอินทขิลนี้ก็เพื่อให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขในบ้านเมือง









3. สงกรานต์ภาคเหนือ

            สงกรานต์ภาคเหนือ...ไม่พูดถึงเชียงใหม่กับงาน "งานประเพณีสะรีปี๋ใหม่เมืองเชียงใหม่" ก็ คงได้ เพราะที่นี่ถือเป็นจังหวัดที่มีผู้คนจากทั่วทุกสารทิศทั้งชาวไทยและชาวต่าง ชาติไปเที่ยวงานสงกรานต์มากเป็นอันดับต้นๆของประเทศเลย และที่สำคัญที่นี่ยังมากด้วยหนุ่มสาวหน้าตาดีๆเยอะแยะไปหมด มาเที่ยวที่นี่ก็เลยสุขใจสบายตากันไปตามระเบียบนอกจากการเล่นน้ำสงกรานต์แล้ว ที่นี่ยังมีกิจกรรมสำคัญอื่นๆที่น่าสนใจอีกเพียบเลย ไม่ว่าจะเป็นการจัดขบวนแห่และสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ ขี่รถถีบกาลางจ้องรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ขนทรายเข้าวัด การแสดงพื้นเมือง การสาธิตศิลปะพื้นบ้าน การเล่นน้ำสงกรานต์ ปีใหม่เมืองรอบคูเมือง ถนนวัฒนธรรมคนเมืองอาหารนานาชาติ ฯลฯ






 4. ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์

            ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ จัดขึ้นในเดือนเมษายน ในวันที่ 15 เป็นต้นไป ของทุกปี ที่บริเวณตัวเมืองจอมทอง มีขบวนรถจากชุมชน ห้างร้าน กลุ่มต่างๆ กว่า 40 ขบวน แห่ไปตามเมืองจอมทอง อำเภอจอมทอง จนถึง วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นประเพณีที่สืบทอดกันมานานกว่า 200 ปี ตามตำนานเกิดขึ้นที่ อำเภอเภอจอมทอง ถือเป็นแห่งแรกของประเทศไทย และแห่งเดียวในโลก ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ กลายเป็นต้นแบบของการแห่ไม้ค้ำสะหลีของชาวล้านนา จนได้รับความนิยมไปทั่วภาคเหนือ และเป็นประเพณีที่เริ่มมีชื่อเสียงโด่งดัง และได้รับความนิยมอย่างมาก






5. มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ

            เชียงใหม่ ดินแดนถิ่นไทยงาม ความสดสวยด้วยธรรมชาติ ป่าเขาลําเนาไพร พร้อมดอกไม้นานาพันธุ์ น้ำตก ต้นน้ำลําธารของแม่น้ำสายสําคัญ และ ความงามตามธรรมชาติ เพื่ออนุรักษ์ความงามตามธรรมชาติอั นเป็นเอกลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่ ชาวเชียงใหม่จึงได้ร่วมกันปลูกพันธุ์ไม้ตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อสร้างเชียงใหม่ให้เป็น "เมืองดอกไม้บานตลอดปี" อันเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรที่สําคัญอีกอย่างหนึ่ง จึงกําหนดให้มีการจัดงาน "มหกรรมไม้ดอกไม้ประดับ" ซึ่งถือเป็นงานประเพณีอันสําคัญอีกงานหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ ที่จัดต่อเนื่องสืบทอดเป็นประจําทุกปี
             งานจะจัดขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์    ณ สวนสาธารณะหนองบวกหาด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในงานจะมีการประกวดนางงามบุปผชาติและขบวนแห่บุปผชาติ นิทรรศการทางการเกษตร การประกวดไม้ดอกไม้ประดับประเภทต่างๆ การประกวดจัดสวน การออกร้านของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร











ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น